วัฒนธรรมศาสนา

วัฒนธรรมศาสนา จุดเริ่มต้นของความหลากหลาย ที่ได้รวบรวมเอาไว้เป็นหนึ่งเดียว

วัฒนธรรมศาสนา กับที่มาของ วัฒนธรรมคือ จะมีความเป็นมาเป็นอย่างไรบ้าง?

วัฒนธรรมศาสนา การกล่าวถึง การดำรงชีวิตของมนุษย์ ในทุกๆอย่างตั้งแต่ ในเรื่องของพฤติกรรม การดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นของตัวเราเอง หรือเป็นการดำเนินชีวิต รวมกับคนอื่นๆ เรียนรู้ที่จะพึ่งพาอาศัยกัน และเรียนรู้ในวิวัฒนาการ ในการพัฒนาความก้าวหน้า ในการดำรงชีวิตต่อไป โดยคำว่าวัฒนธรรมนั้น เป็นการรวมกัน

ของคำว่า วัฒน ที่มาจากคำศัพท์คำว่า วฑฺฒน เป็นคำสันสกฤต หมายถึงความเจริญ กับคำว่า ธรรม ที่มาจากคำศัพท์คำว่า ธรฺม เป็นคำสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำความหมายของสองคำนี้ มารวมกันจะได้คำว่า วัฒนธรรม ที่หมายถึงความดีที่มี ความเจริญงอกงามนั้นเอง โดยการแสดงถึงวัฒนธรรม สามารถแสดงออก ได้ในรูปแบบ

ของทางด้านดนตรี ศิลปะ อาจรวมไปถึงการสานสัมพันธ์ การอยู่รวมกันของคนในสังคมก็เป็นได้ โดยประเภทของวัฒนธรรมนั้น สามารถแบ่งออกได้ 2แบบ ในเบบแรกคือ วัฒนธรรมทางวัตถุ อย่างเช่นข้าวของเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ของใช้ในการเอาตัวรอด หรือในการดำรงชีวิต ต่อมาเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ

ที่เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์เรานั้น มีอารยธรรมที่ดีงาม ทั้งทางด้านปัญญา และทางด้านจิตใจ ในเรื่องของศาสนา ที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจเอาไว้ และรวมไปถึงเหล่าบรรดา เรื่องราวของงานศิลปะ ที่จะช่วยขัดเกลา จิตใจของเราให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

วัฒนธรรมศาสนา กับแหล่ง วัฒนธรรมไทย ต้นกำเนิดจากบรรพบุรุษ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง?

เรื่องราวความเป็นมาของ วัฒนธรรมไทย ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ ครั้งบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ภาษาที่ไทยเรานั้น มีตัวอักษร ภาษาพูดเป็นของตัวเราเอง เรื่องราวของศิลปะ เรื่องราวของดนตรี และเรื่องราวของการแต่งกาย ที่หล่อหลอมให้ทั้งหมดนี้ กลายมาเป็นเอกลักษณ์ ของสังคมไทยในปัจจุบันนนั้นเอง โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดวัฒนธรรม ว่าจะมีที่มาอย่างไรบ้าง อย่างแรกเริ่มต้นที่ วิถีการดำรงชีวิต ด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง จึงทำให้ในแต่ละภูมิภาคของไทยนั้น มีการดำรงชีวิตที่ต่างกัน และทำให้เกิดประเพณี ที่แตกต่างกันไปอีกด้วย ต่อมาเป็นในเรื่องของ ศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ โดยไทยเรานั้น ได้ยึดหลักคำสอนของศาสนาน มาให้ในการดำรงชีวิต

ไม่ว่าจะให้เกรงกลัวต่อการทำบาป การทำบุญไหว้พระ หรือการบวชเพื่ออยู่ ในร่มกาสาวภักดิ์ ต่อมาเป็นในเรื่องของ การเคารพกฎระเบียบ ในการอยู่ร่วมกัน อันมีชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจ สุดท้ายปัจจัยที่ ทำให้เกิดวัฒนธรรม คงหนีไม่พ้น การรับวัฒนธรรม จากต่างชาติเข้ามา ทั้งจากประเทศจีน และประเทศอินเดีย และเมื่อนานวันเข้า ก็เริ่มมีการรับจากทาง ฝั่งตะวันมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ในปัจจุบัน มีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมที่มากขึ้น

วัฒนธรรมศาสนา ในเรื่องของ วัฒนธรรมการแต่งกาย ของคนไทยในแต่ละภาค จะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง?

การแต่งกายในแต่ละที่นั้น จะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่ว่าในพื้นที่นั้นๆ มีสภาพทางภูมิอากาศ ถิ่นฐานที่ตั้ง หรือ ความนิยมชมชอบเป็นอย่างไร โดยในประเทศไทยนั้น ก็แบ่งออกเป็นหลักๆคือ 4ภาค เราจึงจะมาดูว่า ในแต่ละภาคนั้น จะมีวัฒนธรรมการแต่งกายเป็นอย่างไรบ้าง โดยการแต่งกาย ของคนในภาคเหนือนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนเผ่า

ไม่ว่าจะเป็น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน หรือไทใหญ่ แต่ในบางครั้งมีการแต่งกาย ที่คล้ายคลึงกันจึงอาจทำให้ เกิดความสับสนขึ้นมาได้ จึงได้มีข้อแนะนำในดารแต่งกาย ของทางภาคเหนือดังนี้ ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ ไม่ควรนำดอกไม้ มาติดไว้จนทั่วศรีษะ ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือนำเข็มขัดมาทับ

โดยไม่ควรนำผ้าที่ทำมาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้าตุง นำเอมาพาดบ่า และสุดท้ายตัวซิ่นลายทางตั้ง เป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน ต่อมากันที่ภาคอีสานกันบ้าง โดยส่วนใหญ่นั้น จะใส่เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ ดังนั้นเราจะมาดู หลักการทอผ้าของภาคนี้กัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2ชนิดดังนี้ อย่างแรกผ้าทอที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ควรจะทอเป็นผ้าเรียบๆ ไม่มีลวดลาย เพื่อให้ทนต่อการใช้งาน ในชีวิตประจำวัน อย่างที่สองผ้าทอที่เอาไว้ใช้ออกงาน โดยผ้าชนิดนี้จะมีลวดลายที่สวยงาม ตามเอกลักษณะของแต่ละคน จะมีความหลากหลาย และสีสันที่งดงาม ต่อมากันที่ภาคกลาง การแต่งกายในชีวิตประจำวัน ผู้ชายจะใส่กางเกงครึ่งน่อง ใส่เสื้อแขนสั้น และคาดผ้าขาวม้าที่เอว

ส่วนผู้หญิงนั้น จะใส้ผ้าถุงยาว ส่วนเสื้อนั้นก็จะมีทั้ง แขนสั้นแขนยาว แต่หากเป็นการออกงานแล้ว ผู้ชายจะใส่โจงกระเบน ใสเสื้อสีขาวที่เรียกว่า ชุดราชประแตน ส่วนผู้หญิงนั้นใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียง และมักจะเกล้ามวยผม และใส่เครื่องประดับ ปิดท้ายกันที่ภาคใต้ ซึ่งในภาคนี้จะมี จะมีอยู่หลายชนชาติด้วยกัน ที่อาศัยอยู่จะสามารถ

แบ่งออกเป็น 3กลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มแรกกลุ่มเชื้อสายจีน ที่มีเชื้อสายฮกเกี๊ยน กับเชื้อสายมาลายู ซึ่จะมีการผสมผสาน การแต่งตัวของชาวจีน และชาวมาลายูเข้าด้วยกัน โดยผู้หญิงนั้นหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ ที่รอบคอ เอว และปลายแขน และใส่ผ้าซิ่นปาเต๊ะ ส่วนผู้ชายแต่งกายคล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิม กลุ่มต่อมาชาวไทยมุสลิม

ดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมีเชื้อสายมาลายู มักจะแต่งกายตามประเพณี โดยฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อเสื้อแขนยาว นุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือซิ่นมาลายู ส่วนผู้ชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น พันอยู่ที่รอบเอว กลุ่มสุดท้ายชาวไทยพุทธ การแต่งกายคล้ายภาคกลาง ผู้ญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือผ้าซิ่น ใส่เสื้อสีคอกลมแขนสามส่วน ผู้ชายใส่กางเกงชาวเล หรือโจงกระเบน

วัฒนธรรมศาสนา

ในเรื่องของ วัฒนธรรมทางภาษา จะมีความหมายและการใช้งานเป็นอย่างไร

การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย เป็นการสื่อสารทั้งเรา และกับผู้อื่น ดั้งนั้นแล้วการสื่อสาร จะมีทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน โดยทั้งนี้การสื่อสารนั้น ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ในปัจจุบัน ยังสามารถรับรู้เรื่องราวในอดีต จากการที่คนในสมัยก่อน ได้ทำการส่งสารที่ต้องการเอาไว้ ส่งต่อเรื่องราวในปัจจุบัน ไปยังอนาคต

โดยบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และก็บสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ เพื่อส่งต่อให้กับคนในรุ่นต่อๆไป โดยการใช้ภาษา ให้ถูกหลักวัฒนธรรม มีดังต่อไปนี้ ใช้ตามหลักกฎเกณฑ์ที่มาให้ ใช้คำที่สุภาพไม่มีคำหยาบคาย อธิบายของคำๆนั้น หรือประโยคนั้นๆ เอาไว้อย่างชัดเจน สื่อความหมายในทางที่ดี

ใช้คำให้ถูกตามกาละเทศะต่างๆ ใช้คำที่อ่านแล้วน่าฟัง ใช้การสื่อสารทางภาษา ที่คอยเป็นเครื่องเตือนใจ และสุดท้ายเลือกใช้คำ หรือภาษาให้เหมาะสม กับบุคคลที่เราต้องการสื่อสารด้วย ทั้งนี้เพื่อการสืบสาน วัฒนธรรมทางภาษาที่ดีต่อไป

วัฒนธรรมการกิน ของคนไทย ที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นที่น่าสนใจและมีความหลากหลายไปในแต่ละภาคด้วย

วัฒนธรรมการกิน ถือว่ามีความหลกหลายเป็นอย่างมาก โดยที่แต่ละภูมิภาค แต่ละพื้นที่ก็จะมีรูปแบบการกินที่แตกต่างกันออกไป เริ่มกันที่ภาคกลาง โดยจะนิยมให้ช้อน และส้อม มนการกินอาหาร โดยในการจัดเรียงอาหารบนโต๊ะอาหารนั้น จะเรียงไว้ทุกอย่าง และมีช้อนกลาง ในการทานอาหารอีกด้วย ภาคใต้มักจะปูเสื่อ ทานอาหารที่พื้น

มักจะจัดโดต๊ะอาหารวางเรียงไว้เป็นวงกลม แล้วใช้มือตักอาหาร ดื่มน้ำจากขัน ส่วนทางภาคเหนือนั้น มักจะตักอาหารเป็นถ้วยเล็กๆ และวางบนขันโตก โดยจะมีการเตรียม อาหารหวาน ใส่ไว้ที่อีกหนึ่งขันโตกเช่นเดียวกัน ปิดท้ายกันที่ภาคอีสาน คนในภาคนี้ยังนิยมทานอาหาร ที่ตักอาหารใสถ้วย

แล้วนำไปใส่ถาดสังกะสี พร้อมด้วยกระติ๊บข้าวเหนียวนั้นเอง และนี้ก็เป็นเรื่องราว วัฒนธรรมต่างๆ ของคนไทยที่เราได้นำมาแนะนำในวันนี้ หากไม่อยากพลาดข้อมูลดีๆ ติดตามเราได้ที่ florentius.com แล้วคุณจะไม่พลาดเรื่องราวสาระดีๆแน่นอน

วัฒนธรรมศาสนา

วัฒนธรรมโบราณ